ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีการ Backup Bookmark Firefox แบบง่ายๆ

บ่อยครั้งที่เราต้องทำการลบ Firefox ออกแล้วติดตั้งใหม่ หรือต้องย้ายเครื่องคอมหรือโน้ตบุค จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง คราวนี้พวกเว็บ URL ที่เราบุคมาร์ก (Bookmark) หรือ กด Favorites เอาไว้ ก็จำเป็นต้องย้ายตามไปด้วย ซึ่งหากมีแค่ 4-5 เว็บ ก็คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ แต่ถ้ามีเป็นหลัก 10-100 เว็บ แล้วมีการแบ่งหมวดหมู่กันอย่างชัดเจนแล้ว จะให้มานั่งเพิ่มทีละเว็บใหม่ ก็คงไม่สนุกเท่าไหร่นัก ดังนั้นวิธีการที่ดี ก็คือ การ Export / Import Bookmark ของ Firefox มาเลย ทำแค่แปปๆ ก็เสร็จแล้ว ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

1. ไปที่เมนู ที่คั่นหน้า => แสดงที่คั่นหน้าทั้งหมด เพื่อแสดง firefox bookmark ทั้งหมด




2. เลือก นำเข้าและสำรองข้อมูล => ส่งออกคั่นหน้าเว็บเป็น html แล้วก็กดเซฟไฟล์ ตามที่เราต้องการ เราก็จะได้แบคอัพอัพออกมา




3. ถ้าเราต้องการนำเข้าไฟล์แบคอัพของเรา ก็ให้เลือกที่เมนู นำเข้าคั่นหน้าเว็บจาก htmlเพียงง่ายๆแค่นี้ เราก็จะได้เว็บที่เรากด bookmark ไว้ทั้งหมด กลับคืนมาแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งานเว็บ Dreamstime สำหรับคนขายภาพ

หลังจากที่เราลอคอินเว็บ Dreamstimeแนท ผ่านทางคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีเมนูคำสั่งที่เราควรที่จะสนใจและใช้งานบ่อยๆอยู่ ในบทความนี้ ก็จะมาแนะนำเมนูที่ว่าดังกล่าวที่เราควรที่จะรู้จักเอาไว้ ตรงส่วนเมนูด้านขวาบน ซึ่งจะเป็นรายละเอียดสรุปรวมของ account ของเรา ดังนี้ คือ Credits remaining: แสดงเครดิตเงินที่มีใน account Earnings balance: รวมรายได้ที่มีจากกการขายภาพต่างๆ Downloads: จำนวนภาพที่ถูก download ทั้งหมดของเรา Uploads: จำนวนภาพที่ถูก upload ทั้งหมดของเรา Total revenue: ยอดเงินทั้งหมด Unread comments: คอมเมนต์ที่ยังไม่ได้อ่าน ตรงนี้จะเป็นส่วนรายละเอียดของส่วนต่างๆที่มี โดยแบ่งแยกออกเป็น 1. ส่วนนี้จะแสดงคำอธิบายเมนูต่างๆ เมื่อเราเอา mouse ไปวางบนเมนูนั้นๆ 2. Buyers Area : สำหรับในกรณีที่เราเป็นผู้ซื้อภาพ ก็จะแสดงเกี่ยวกับสถานะต่างๆ 3. Your Statistics : แสดงสรุปสถิติของเรา – files online : ไฟล์ที่ออนไลน์อยู่ในตอนนี้ – unfinished files : ไฟล์ที่ยังไม่เสร็จ – pending files : ไฟล์รอตรวจ – disabled files : ไฟล์ที่ปิดไว้ชั่วคราว – current earnings : ยอดขายรวมตอนนี...

การลดขนาดรูป หลายๆรูปพร้อมๆกัน

การลดขนาดรูป หลายๆรูปพร้อมๆกัน การลดขนาดไฟล์ภาพ หลายๆไฟล์ในครั้งเดียว เราสามารถที่จะใช้โปรแกรม ACDSee ช่วยได้ (ซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีติดเครื่องไว้อยู่แล้ว) โดยที่เราจะสามารถตั้งค่าได้ทั้งด้านกว้างและยาว ตามต้องการ วิธีการ คือ 1. เปิดโปรแกรม ACDSee แล้วเลือกไฟล์ที่เราต้องการจะเปลี่ยนขนาด กี่อันก็ได้ (ใน ตย. เลือกทุกอันเลย 26 อัน)  2. ไปที่เมนู Tool => Resize Image หรือ Batch Resize Image (ตามรูป) – Percentage of Original เลือกว่าจะให้เป็นกี่ % ของภาพต้นฉบับ (ได้ทั้งย่อและขยายภาพ) หรือจะตั้งแค่ความกว้างหรือยาว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ – Size in Pixels เลือกว่าจะให้กว้างหรือยาวเท่าไหร่ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง – Actual/Print Size เลือกขนาดในหน่วยของ mm/inch/cm และปรับ resolution (dpi) ได้ เพื่อการนำไปใช้ในงานพิมพ์ 3. เราสามารถตั้งค่าในเมนู option ได้อีกครั้ง ว่าจะให้โปรแกรมเซฟทับไฟล์เก่าหรือไม่ เซฟไว้ที่ไหน หรือคุณภาพของไฟล์ที่จะได้

รีวิว MX Player for Android : ฟังค์ชั่นและวิธีใช้

MX Player คืออะไร : MX Player (V 1.7.34) เป็นแอพฟรีอีกหนึ่งแอพที่น่าสนใจ จากทางค่าย J2 Interactive ที่ได้รับยอดโหลดสูงถึง 100 ล้านครั้ง เป็นแอพจากทาง Korea ซึ่ง app นี้เอาไว้สำหรับดูหนังฟังเพลงเป็นหลักเลย ด้วยรูปร่างน้าตาที่ดูเรียบง่าย ใช้งานง่าย รองรับประเภทไฟล์ที่หลากหลาย จึงจัดว่าเป็นสั่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ smart phone ของคุณเลยทีเดียว เราสามารถโหลด MX Player (apk) สำหรับติดตั้งผ่านทาง play store ของเราได้เลย ข้อดีและจุดเด่นของ MX Player สำหรับ Android – Hardware Acceleration : ใช้ hardware มาเป็นตัวช่วยเร่งการอ่านและแปลงไฟล์ media ทำให้เล่นไฟล์ต่างๆได้เร็วขึ้น MX Player ช่วยลดอาการกระตุกขณะที่เล่นไฟล์ได้ – Multi-core Decoding: ใช้ระบบที่สามารถดึง cpu หลายๆหัว (cores) มาช่วยในการเล่นไฟล์ได้ – Pinch To Zoom, Zoom And Pan: ซูมเข้าออกง่ายๆเพียงปลายนิ้วสัมผัส – Subtitle Gestures: ระบบอ่านซับไตเติ้ลและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ – Kids Lock: ปลั้กอินเสริมสำหรับป้องเด็กๆกดโทรออกขณะดูหนัง วิธีใช้งาน MX Player การตั้งค่าต่างๆในแอพนี้ ก็เป็นเรื่องง่าย มีเมนูให้เลือกตามที...