ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอ่าน Histogram และการนำไปใช้ ตอนที่ 1

วันนี้ผมได้ไปอ่านบทความเกี่ยวกับเจ้า Histogram มา เลยอยากที่จะแปลแบบเป็นเรื่องเป็นราวและลงไว้ในเว็บเสียหน่อย เพื่อแชร์ความรู้นี้ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกัน (รวมทั้งตัวผมเองด้วย) ส่วนบทความต้นฉบับจะอยู่ที่ How to Read and Use Histograms โดย Darlene Hildebrandt
Histogram เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากอีกตัวหนึ่ง ที่กล้องถ่ายรูปมีให้เรา โดยเฉพาะการนำไปสู่การตั้งค่า exposure ที่ถูกต้อง แต่เราเองบางครั้งหรือหลายๆครั้งมักจะมีความเข้าใจที่ผิดพลาดกับเครื่องมือนี้ ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่การอ่าน Histogram และการนำไปใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า exposure ที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานั้นๆ

Histogram คืออะไร
แปลตาม dictionary ก็คือ “A bar graph of a frequency distribution in which the widths of the bars are proportional to the classes into which the variable has been divided and the heights of the bars are proportional to the class frequencies.” ยาวมาก ขี้เกียจแปล มาดูว่าเราจะอ่านมันอย่างไร และนำมันไปใช้อย่างไร

การอ่านค่า Histogram
Histogramคือกราฟแท่งที่แสดงถึงความถี่หรือจำนวนของ pixel ที่การจายอยู่ ณ ช่วงค่าความสว่างต่างๆ จากรูป ส่วนที่อยู่ทางซ้าย คือส่วนที่เป็นด้านมืดหรือเงา ส่วนด้านขวา คือ ส่วนที่เป็นสีขาวหรือส่วนสว่างของภาพ และส่วนตรงกลาง คือ ส่วนสีเทา โดยที่ส่วนที่เป็นความสูงจะแสดงถึงจำนวนที่มีของค่าความสว่างหรือในช่วงโทนนั้นๆ แต่ละโทนซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 (0 คือ มืดสุด และ 255 คือ สว่างสุด) คือค่าตำแหน่งบนแกนแนวนอนของกราฟ เมื่อมันมาเรียงต่อกันบนกราฟ ก็จะมีหน้าตาประมาณนี้


เราได้อะไรจาก Histogram
แค่เพียงอ่าน Histogram จากภาพ เราก็สามารถที่จะได้อะไรๆออกมาหลายอย่าง ถ้าค่า exposed ดี รูปกราฟจะกระจายตัวแบบ สูงตรงกลางและมีที่ว่างซ้ายขวาเท่ากัน ความสูงเท่าๆกัน (แต่ในความเป็นจริง อาจจะไม่ใช่ทุกกรณีที่เป็นแบบนี้ ต้องดูปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย)


เป็นรูป Histogram ในอุดมคติ สวยงาม ความสูงและการกระจายตัวมีความสมดุลกัน

 
เป็น Histogram ที่ถ่ายภาพมืด กราฟจะเบ้ไปทางซ้าย (มืด) ซึ่งไม่ถือว่าผิด เราก็แค่ทำให้กราฟมันเบ้กลับไปทางขวา (สว่าง) ก็ดีขึ้นแล้ว
เป็น Histogram ที่ถ่ายภาพวัตถุสว่าง โทนของภาพจะค่อนไปทางสว่าง และมีส่วนสว่างในภาพค่อนข้างเยอะ
เมื่อ Histogram บอกคุณเองว่าควรจะปรับ exposure ได้แล้ว
ถ้ามี gap (ช่องว่าง) อยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่าเรากำลังพลาดรายละเอียดบางอย่างและเราสามารถปรับ exposure ได้โดยที่รายละเอียดของภาพยังคงอยู่ ถ้ากราฟสูงๆของเราเอียงไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่งมากๆ เราก็ยังสามารถปรับค่า exposure ของเราได้อยู่
ภาพนี้แสดงตัวอย่างว่ากราฟมี gap ทางซ้าย และกราฟไปทางขวาเยอะ หมายถึงติดไปทาง over ทำให้ภาพจะขาดรายละเอียดในโทนสีดำ แก้ได้โดย ปรับลด exposure แล้วถ่ายใหม่

ภาพนี้จะตรงข้ามกับภาพด้านบน เราเห็น gap อยู่ทางขวา หมายถึงภาพเราจะมีส่วนสีขาวน้อย มีส่วนสีดำเยอะ ทางแก้ก็ปรับเพิ่ม exposure แล้วถ่ายใหม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้งานเว็บ Dreamstime สำหรับคนขายภาพ

หลังจากที่เราลอคอินเว็บ Dreamstimeแนท ผ่านทางคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีเมนูคำสั่งที่เราควรที่จะสนใจและใช้งานบ่อยๆอยู่ ในบทความนี้ ก็จะมาแนะนำเมนูที่ว่าดังกล่าวที่เราควรที่จะรู้จักเอาไว้ ตรงส่วนเมนูด้านขวาบน ซึ่งจะเป็นรายละเอียดสรุปรวมของ account ของเรา ดังนี้ คือ Credits remaining: แสดงเครดิตเงินที่มีใน account Earnings balance: รวมรายได้ที่มีจากกการขายภาพต่างๆ Downloads: จำนวนภาพที่ถูก download ทั้งหมดของเรา Uploads: จำนวนภาพที่ถูก upload ทั้งหมดของเรา Total revenue: ยอดเงินทั้งหมด Unread comments: คอมเมนต์ที่ยังไม่ได้อ่าน ตรงนี้จะเป็นส่วนรายละเอียดของส่วนต่างๆที่มี โดยแบ่งแยกออกเป็น 1. ส่วนนี้จะแสดงคำอธิบายเมนูต่างๆ เมื่อเราเอา mouse ไปวางบนเมนูนั้นๆ 2. Buyers Area : สำหรับในกรณีที่เราเป็นผู้ซื้อภาพ ก็จะแสดงเกี่ยวกับสถานะต่างๆ 3. Your Statistics : แสดงสรุปสถิติของเรา – files online : ไฟล์ที่ออนไลน์อยู่ในตอนนี้ – unfinished files : ไฟล์ที่ยังไม่เสร็จ – pending files : ไฟล์รอตรวจ – disabled files : ไฟล์ที่ปิดไว้ชั่วคราว – current earnings : ยอดขายรวมตอนนี

ทำท้องฟ้าให้มีสีฟ้าแบบสวยงามสดใสสมจริง ด้วย Photoshop

บางครั้งหรือหลายๆครั้งที่เราถ่ายภาพที่ติดท้องฟ้าหรือเน้นท้องฟ้ามา แต่ภาพๆนั้นได้สีสันของท้องฟ้าที่ไม่ค่อยสมจริงและดูไม่ดึงดูดสายตาเท่าที่ควร เราก็ต้องมาแต่งเติมสีฟ้าให้ท้องฟ้ากันหน่อย ให้มันดูสมจริงสมจังขึ้น สวยงามขึ้น ทำได้ง่ายๆครับ photoshop ช่วยคุณได้ ลองทำตามนั้นตอนได้เลย 1. เปิดไฟล์ภาพขึ้นมาด้วย Photoshop (ใน ตย. จะเป็นตัว CS 6.0) จะเห็นว่าท้องฟ้าจะมีสีฟ้าเรียบๆ ไม่ค่อยประทับใจสักเท่าไหร่ 2. กอปปี้เลเยอร์นั้นขึ้นมาใหม่ ด้วยปุ่ม CTRL+J หรือ จะใช้ duplicate layer ก็ได้ 3. ใช้เครื่องมือ gradient tool เพื่อไล่โทนสีกับ layer อันใหม่ที่สร้างขึ้น โดยตั้งค่าสี Foreground=White และ Background=Blue(พยายามเลือกให้เข้ากับโทนสีของภาพ) 4. ลากเส้นลงมา จากบนลงล่าง เพื่อไล่ gradient สีจากฟ้าไปหาขาว แล้วจะได้ผลลัพธ์ดังรูป 5. ปรับตั้งค่า layer ใหม่ โดยเปลี่ยน mode เป็น multiply และ ปรับ opacity ไปที่ 50% (หรือเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม) เราก็จะได้ท้องฟ้าที่มีโทนสีฟ้าชัดเจนขึ้นและดูสวยขึ้นมากเลยทีเดียว

รีวิว Vimeo App – แอพดูคลิปชื่อดังจากเว็บ Vimeo.com

Vimeo app เป็นแอพพลิเคชั่นบนระบบแอนดรอยด์ (Android Application) ของทางเว็บ Vimeo.com ซึ่งเป็นเว็บดูวิดีโอออนไลน์ชื่อดังอีกเว็บหนึ่ง คล้ายๆกับ youtube, matacafe และ dailymotion ซึ่งทางเว็บ Vimeo.com ได้รวบรวมเอาฟังค์ชั่นและข้อดีของทางเว็บ เอามาใส่ไว้ในแอพ เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น เพื่อรันบน smart phone ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เราสามารถ โหลด Vimeo app ได้ทาง google play แบบฟรีๆได้เลย จุดเด่นของ Vimeo app คือ 1. ค้นหาวิดีโอได้ง่าย และรวดเร็ว 2. อัพโหลดได้ง่าย รองรับ HD และสามารถ upload แบบต่อเนื่องได้อีกด้วย 3. มีระบบ stat ให้เราด้วย 4. แชร์ไปเว็บ social ต่างๆได้ง่าย 5. มีระบบ Groups, Channels and Albums ให้ใช้งานด้วย เมื่อเราเปิดแอพ vimeo ขึ้นมา จะเห็นหน้าจอลอคอินก่อนเลย ซึ่งถ้าเราสมัคร account กับทาง vimeo ไม่ว่าจะเป็นทางแอพหรือทางหน้าเว็บ เราก็จะลอคอินได้เลย ซึ่งถ้าเราลอคอินแล้ว เราก็จะสามารถอัพคลิปขึ้นไปได้หรือจะถ่ายคลิปใหม่แล้วอัพขึ้นไปเลยก็ยังได้ โดยใช้เมนู Camera หรือ Camera Roll หากเข้าไปที่เมนู Featured ก็จะมีกลุ่มวิดีโอที่กำลั